ในโลกแห่งการทำงานเราพิสูจน์กันด้วยฝีมือของประสบการณ์ ไม่สามารถประเมินกันที่วุฒิการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้น
สายงานของวิศวกรหรือนายช่างทั้งหลาย เรามักจะมีคำเรียกที่สะท้อนถึงความเก๋าในอาชีพกัน ว่า พี่ระดับจูเนียร์ พี่ระดับซีเนียร์
ความเก๋าที่ว่าไม่ใช่ได้มากจากระยะเวลาในการทำงานที่นานเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความรับผิดชอบในงานที่ได้รับ และความรู้ความชำนาญในด้านนั้น ๆ
ดังนั้นสภาวิศวกรเองจึงได้ขยายโอกาสสำหรับบุคคลที่ไม่ได้จบในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรควบคุม แต่มีประสบการณ์ทำงานจริงในสายงานดังกล่าวให้สามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ โดยขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต มีดังนี้
- สมัครสมาชิกสภาวิศวกร ผ่านลิงค์ https://service.coe.or.th (บุคคลธรรมดา >> สมัครสมาชิกใหม่ >> กรอกรายละเอียด >> >> ชำระเงิน 1500 บาท >> ได้เลขที่สมาชิก) โดยอายุสมัครชิกอยู่ที่ 5 ปี
- ยื่นเอกสารขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ *สามารถยื่นได้ครั้งละ 1 ลักษณะงานเท่านั้น
โดยเอกสารที่ใช้มีดังนี้
2.1 ชุดคำขอสมัครสมาชิกพร้อมการขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ดาวโหลดได้จาก >> https://www.coe.or.th/http_public/download/form/coe_15.docx <<
2.2 หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา (สำเนา Transcripts ฉบับระบุวันจบการศึกษา)
2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2.4 รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
2.5 บัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ขอรับใบอนุญาตตามแบบที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด โดยกรอกเฉพาะผลงานที่ตรงกับลักษณะงานที่ขอใบอนุญาตเท่านั้น และต้องเป็นงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งให้วิศวกรระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปในสาขาหรืองานเดียวกันกับผู้ที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ลงนามรับรอง (ช่อง (3) ให้รวมระยะเวลาการปฏิบัติงานแต่ละโครงการ เช่น ม.ค. 62 – ม.ค. 63 รวมระยะเวลา 1 ปี เป็นต้น)
2.6 ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่ทำการตรวจจากแพทย์)
2.7 คำรับรองคุณสมบัติ (โดยผู้ที่ลงนามรับรอง ต้องเป็นผู้ที่ถือใบอนุญาตฯ ระดับสามัญขึ้นไปในสาขาเดียวกันกับที่ยื่นขอเท่านั้น)
2.8 รายงานผลงานดีเด่นโดยคัดเลือกจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานประกอบ จำนวน 2 ผลงาน และให้ระบุว่าเป็นผลงานลำดับที่เท่าไหร่ในบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงาน โดยให้ส่งรายงานผลงานดีเด่นในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
จัดส่งเอกสารตามข้อ 2.1 – 2.8 เป็นไฟล์ผ่านทางอีเมลล์ [email protected] โดยไม่ต้องจัดส่งฉบับจริงwxยังสภาวิศวกร
*เอกสารข้อ 2.5 และ 2.8 เป็นตัวชี้ชะตา
ข้อแนะนำการจัดทำโครงการดีเด่น
– สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
– สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
– สาขาวิศวกรรมโยธา
– สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
– สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
– สาขาวิศวกรรมเคมี
–สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ - สอบสัมภาษณ์ และ/ หรือ ส่งทดสอบข้อเขียน (ขึ้นกับการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ) *ผู้ที่ไม่ผ่านการสอบสัมภาษณ์หรือการทดสอบข้อเขียน หากประสงค์จะยื่นขอรับใบอนุญาตในงานลักษณะเดิม สามารถยื่นคำขอใหม่ได้ภายหลังจากวันที่ยื่นคำขอครั้งก่อนไม่น้อยกว่าหกเดือน
- ทดสอบความรู้ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ โดยเกณฑ์การผ่านต้องได้คะแนน >= 60% *ต้องสมัครภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการสภาวิศวกรอนุมัติให้เข้ารับการอบรมและทดสอบ
ข้อสอบที่ใช้ทดสอบความรู้นี้เป็นข้อสอบเดียวกับที่เหล่าวิศวกรใช้สอบเพื่อขอรับใบอนุญาต กว. ปกติ ดังนั้น เราสามารถเตรียมตัวอ่านเนื้อหาข้อสอบผ่านหน้าเว็บไซต์สภาวิศวกร หรือ ใช้ EnGenius เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเตรียมสอบให้ผ่านภายในครั้งเดียว https://engenius.neighborsoft.com
ใครผ่าน 4 ด่านนี้มาได้ !! เท่ากับ คุณได้คว้าใบ กว. พิเศษ มาครอบครองได้สำเร็จ
ส่วนค่าใช้จ่ายในการแต่ละขั้นตอนเราสรุปให้เป็นแผนภาพง่ายๆ ดังนี้