ทำความรู้จัก ใบ กว. (ใบอนุญาตประกอบวิศวกรรมควบคุม) เพื่อประโยชน์ในการทำอาชีพวิศวกร
” อาชีพวิศวกร คือ อาชีพของนักแก้ปัญหา “
นักแก้ปัญหาจำเป็นต้องรู้ถึงขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่ถูกคุ้มครองโดยกฎหมาย
- กฎหมาย ระบุ ไว้อย่างชัดเจนว่าวิศวกรที่จะทำงานเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของได้ จำเป็นต้อง มีใบ กว. เพื่อเป็นเครื่องหมายการันตีคุณภาพของวิศวกรคนนั้นๆ ว่าได้รับการผ่านการอบรมและทดสอบจากสภาวิศวกรเรียบร้อย
- โดยสภาวิศวกรได้แบ่งวิศวกรที่จำเป็นต้องมีใบ กว. ไว้ทั้งหมด 8 สาขา ได้แก่
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
- วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมอุตสาหการ
- วิศวกรรมเหมืองแร่
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- โดยสภาวิศวกรได้แบ่งวิศวกรที่จำเป็นต้องมีใบ กว. ไว้ทั้งหมด 8 สาขา ได้แก่
โดยสภาวิศวกรได้กำหนดค่าใบประกอบวิชาชีพวิศวกรตามระดับขั้น ดังนี้ โดยสภาวิศวกรกำหนดเป็นแนวทางเบื้องต้นโดยไม่ได้บังคับเป็นข้อกำหนดหรือกฎหมายแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับแนวทางแต่ละบริษัท
มากไปกว่าการเป็นวิศวกรที่ถูกต้องการตามกฎหมายแล้วนั้น การเป็นวิศวกรในชีวิตจริงเราจำเป็นต้องมีความรู้ในการประกอบอาชีพให้ครบครันเพื่อให้เราไม่เสียเปรียบและเตรียมความพร้อมให้กับตนเองในการออกสู่ตลาดงานได้อย่างแท้จริง
- 4 ความรู้ที่ควรทราบ เพื่อติดอาวุธให้ครบก่อนทำงานจริง ได้แก่
- กฏหมาย
- จรรยาบรรณวิชาชีพ
- สิ่งแวดล้อม
- ความปลอดภัย
เหตุผลจำเป็นที่เราจำเป็นต้องทราบองค์ความรู้เหล่านี้ก็เพื่อให้เราไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำอาชีพวิศวกร ทั้งในแง่กฎหมาย และ จรรยาบรรณวิชาชีพ 2 องค์ความรู้นี้จะช่วยทำให้เราเป็นวิศวกรที่ดีและถูกกฎหมายได้ในตลาดงานจริง มากไปกว่านั้น การทำงานวิศวกรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานย่อมเป็นผลดีกับตนเองและผู้ปฏิบัติงานรอบข้างด้วย
โดยเราสามารถเข้าถึงเนื้อหาความรู้นี้ได้อย่างครบถ้วนอยู่แล้ว เพราะก่อนที่เราจะได้รับ ใบ กว. สภาวิศวกรจะทำหน้าที่อบรมเนื้อหาจำเป็นเหล่านี้ให้กับเราอยู้แล้ว