Skip to content

10 อาชีพเสริมวิศวกร ที่รายได้มากกว่าโอที

อาชีพวิศวกรถือเป็นอาชีพนักแก้ปัญหา ที่นำความรู้วิทยาศาสตร์และด้านการคำนวณมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ทำให้ความรู้ของวิศวกรเต็มไปด้วยคุณภาพ

โดยรายได้ของวิศวกรส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนที่มาจากการทำงานประจำวัน และมีรายได้เสริมที่มากจากโบนัสและการทำโอที

และถ้าวิศวกรไม่เลือกโอที จะมีรายได้ช่องทางไหนอีกบ้างวันนี้ EnGenius จะพาไปรู้จักกับ 10 อาชีพเสริมสำหรับวิศวกร

1. Tutor (ติวเตอร์)

วิศวกรส่วนใหญ่ถนัดวิชาทางด้านการคำนวณอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์

ซึ่งก็สามารถนำความรู้ที่เชี่ยวชาญเหล่านี้ไปสอนให้กับเด็ก ม.ปลาย เพื่อเสริมความรู้ให้กับพวกเขา

แน่นอนว่าการสอนทุกวันนี้ในปี 2565 คงหนีไม่พ้นการสอนแบบออนไลน์ การอัปสกิลเป็นสอนแบบออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งใน Soft Skill ที่ควรมีสำหรับติวเตอร์

และถ้าสามารถต่อยอด Skill ในการทำ Content ตัดต่อวีดีโอได้ ก็ยิ่งดีไปใหญ่ เพราะสามารถอัปโหลดวีดีโอไปยังแพลต์ฟอร์มอื่น และเก็บเงินจากทั้งการสมัครสมาชิก หรือค่าโฆษณาก็ย่อมได้

2. Youtuber (ยูทูปเบอร์)

Youtube ทุกวันนี้ไม่ใช่แค่สื่อบันเทิงเท่านั้น แต่คนดูยูทูปเสพแหล่งความรู้ที่พ่วงมากับความบันเทิง

แน่นอนว่าอาชีพวิศวกรเป็นอาชีพที่มีเสน่ห์ จะดีแค่ไหนถ้ามีวิศวกรมาเผยแพร่ความรู้เชิงวิศวกรที่สนุกและประโยชน์ให้กับน้องๆ มัธยมปลาย หรือเพื่อนๆ คนอื่นที่กำลังสนใจวิศวกร

และในปี 2565 ก็เริ่มมี Youtube ที่เป็นวิศวกรหลายคนเริ่มทำ Content ของตัวเองขึ้นมา

และในอนาคตยอดวิวเหล่านี้มีการสะสมขึ้นไปเรื่อยๆ โฆษณาก็จะเริ่มตามมา

ถ้าคุณเริ่มทำในวันนี้ ในอนาคตไม่แน่คุณอาจจะเป็น Youtuber วิศวกรที่ดังที่สุดก็ได้

3. Trader (เทรดเดอร์)

เทรดเดอร์หรือนักเกร็งกำไรถือเป็นอาชีพเสริมยอดนิยมของวิศวกรเลยก็ว่าได้

ในปี 2565 ไม่ได้มีแค่เรื่อง หุ้น หรือ Forex (Foreign Exchange Market หรือ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ) เท่านั้น

แต่ทุกวันนี้วิศวกรหลายคนเริ่มหันไปลงทุน Crypto currency (เหรียญคริปโต)

เพราะวิศวกรถือเป็นอาชีพที่อยู่กับกราฟมาตั้งแต่ ป ตรี บางคนก็มีพรสวรรค์ทางด้านการมองกราฟ

นำมาประยุกต์ใช้กับกราฟ หุ้น Forex หรือ Crypto บางคนลาออกจากวิศวกรมาเป็น Trader เต็มตัวก็มีแล้ว

4. Writer (นักเขียน)

วิศวกรบางคนชอบเล่าเรื่องด้วยการเขียน แม้ว่าพฤติกรรมคนส่วนใหญ่จะเริ่มหันไปเสพสื่อรูปภาพ หรือ วีดีโอ

แต่บทความก็ยังคงเป็นช่องทางที่เรียบง่าย และเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว

ปี 2565 ก็มีบางคนสร้างเพจ Facebook เขียนเล่าเรื่องต่างๆ ลงไป ก็มีคนมาติดตามและลงโฆษณา เกิดรายได้ก็มีแล้ว

หากคุณชอบการเขียนร้อยเรียง ไม่ได้มีแค่ Facebook เท่านั้น ยังมีแพลต์ฟอร์มอื่นที่สามารถไปเขียนลง และรับรายได้

5. Freelancer (รับจ้างทั่วไป)

ความถนัดทางด้านวิศวกรไม่ใช่แค่ไว้ทำงานให้บริษัท หรือโรงงาน เท่านั้น

ในช่วงวันหยุดท่านสามารไปรับงานเสริมได้ เช่น วิศวกรโยธา ไปตรวจบ้านหรือคอนโด

วิศวกรสาขาอื่นก็สามารถรับเขียนแบบ หรือ ตรวจแบบได้

และถ้าหากคุณเป็นสายออกแบบ อย่าลืมที่จะขอ ใบ กว.

EnGenius แอปเตรียมสอบ กว. ที่มีคุณภาพที่สุด ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 6000+ คน

มีทั้งแบบฟรีและพรีเมี่ยม ลองใช้ดูได้เลย https://engenius.neighborsoft.com

6. Game Caster (นักแคสเกม)

งานอดิเรกก็สามารถเป็นงานเสริมได้ วิศวกรบางคนชอบเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ

บางคนเล่นเกมแล้วดูสนุก ซึ่งงานอดิเรกนี้สามารถเปลี่ยนให้คุณเป็นนักแคสเกม

เล่นเกมอย่างสนุกให้คนอื่นได้รับชม ก็สามารถสร้างรายได้แบบคาดไม่ถึง

เพราะปี 2565 พฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนนักแคสเกมก็ถือเป็นอาชีพใหม่ที่มาแรงไม่แพ้กันเลยทีเดียว

7. Sell products online (ขายของออนไลน์)

ถ้าหากคุณเป็นวิศวกรที่ชอบขายของ ลองศึกษาเพิ่มเติมดูอีกนิด

แล้วคุณจะพบว่าการขายของออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับวิศวกร

ด้วย Connection ที่แน่นของวิศวกร เราสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านตรรกศาสตร์และเหตุผล เข้าไปใช้ในธุรกิจเหล่านี้ได้

ในปี 2565 ก็มีวิศวกรหลายท่าน ที่มีความเข้าใจทางด้านนี้ และประกอบธุรกิจจนเติบโตมากกว่าเงินเดือนปัจจุบัน

8. Photographer (ช่างภาพ)

วิศวกรบางคนมีงานอดิเรกเป็นช่างภาพ ที่ชอบถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว

ปี 2565 ก็เห็นวิศวกรบางคน ถ่ายรูปเครื่องจักร ความยิ่งใหญ่ของตัวโรงงาน ความเท่ของตัววิศวกรในโรงงาน

หรือแม้แต่ทำเล สิ่งแวดล้อม ต่างๆในโรงงาน ก็สามารถเป็นภาพที่ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เคยพบเห็น

และสนใจในการเสพภาพเหล่านี้ ซึ่งก็มีเว็บไซต์ หลายแพลตฟอร์มที่ให้เราสามารถอัปโหลดรูปภาพของเราเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มเพื่อขายรูปเหล่านั้นได้

และพลาดไม่ได้เลย ปี 2565 นี้ ก็มีวิศวกรบางท่านอัปโหลดรูปแบบ NFT (Non-Fungible Token) ภาพที่มีความแตกต่างเฉพาะตัวไม่สามารถทดแทนกันได้ หรือไม่ซ้ำใคร ขึ้นไปบนแพลตฟอร์มขายภาพ NFT ดังๆก็ https://opensea.io/ ที่มีการซื้อขายเกร็งกำไรรูปภาพกันได้ด้วย

9. Farmer (เจ้าของฟาร์ม)

วิศวกรรุ่นนี้คงมีที่ดินหรือฟาร์มที่เป็นมรดกตกทอดมาจากคนรุ่นปู่ รุ่นย่า ซึ่งคงน่าเสียดายถ้าหากเรานำมาขาย

การพัฒนาต่อยอดให้ที่ดินหรือฟาร์มเหล่านี้ทำเงินได้เองก็คงมีการลงทุนไม่ใช่น้อย

แต่ก็มีวิศวกรหลายท่านศึกษาทางด้านการเกษตร และลงทุนต่อยอดไปเป็นสวนพืช ผัก ผลไม้ หรือ พืชเศรษฐกิจอื่นๆ สไตล์วิศวกร

เกิดรายได้มากกว่าเงินเดือนวิศวกรก็มีมาแล้ว

10. Investor (นักลงทุน)

เมื่อเงินเก็บที่มีเยอะ + กับห้องเปล่า หรือที่ดิน วิศวกรหลายท่านก็เลือกที่จะศึกษาแฟรนไชส์ ต่างๆ ที่ให้กำไร ในทำเลนั้นๆ ได้อย่างดีและเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ สะดวกซัก ชา กาแฟ ขนม ต่างๆ ให้เลือกศึกษาอย่างหลากหลายกันเลยทีเดียว