อาชีพวิศวกร หลังยุคโควิด-19
การระบาดของโควิด-19 เป็นปัญหาด้านสุขภาพครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิตและการทำงานหลากหลายอาชีพ หนึ่งในนั่นคืออาชีพวิศวกร โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมวิศวกรรมและการก่อสร้างจะมีทั้งในระยะสั้นและยาว จนถึงขั้นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปฏิบัติงานทุก Process เลยทีเดียว
โดยสิ่งที่คาดว่าจะกลายมาเป็นความปกติใหม่ของสายอาชีพวิศวกรและสายงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. ในช่วงวิกฤต ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการปฏิบัติงานที่บ้านและการประชุมออนไลน์ หลายบริษัทเริ่มคิดนอกกรอบได้ว่า การที่พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้จะเป็นความปกติใหม่อย่างหนึ่ง เป็นการลดค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน และลดการเสียเวลาในการเดินทางของพนักงานด้วย จึงไม่เน้นการวัดผลงานด้วยเวลาที่ใช้ในการทำงาน แต่วัดด้วยปริมาณผลงาน หรือความก้าวหน้าของโครงการ
2. ที่ผ่านมาบริษัทด้านวิศวกรรมมักให้ความสำคัญแก่ประสิทธิผลการผลิตเป็นพิเศษ แต่ในอนาคตประสิทธิภาพของเงินทุนจะเข้ามามีความสำคัญแทน บริษัทที่ใช้เงินสดหมุนเวียนอย่างชาญฉลาด มีต้นทุนคงที่น้อยกว่าและมีวงจรการแปลงเงินสดได้ในระยะเวลาสั้น ๆ จึงจะสามารถอยู่ยั่งยืน และแขนงวิศวกรรมที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเงินและบัญชีอย่าง ‘วิศวกรรมการเงิน’ ก็จะกลายเป็นวิศวกรที่โดดเด่น
3. ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมทุกอย่างจะต้องสามารถแปลงให้เป็นดิจิทัลได้ เพื่อสำเนาได้และส่งให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องได้ทางออนไลน์ สิ่งนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดว่า “รับงานที่ไหนก็ได้ ผลิตงานที่ไหนก็ได้ และส่งงานที่ไหนก็ได้” ระบบ Blockchain อาจมีอิทธิพลมากขึ้น
4. นวัตกรรมทางเทคโนโลยียังมีความสำคัญในโลกแห่งความปกติใหม่ โดยเฉพาะงานด้านวิศวกรรมพันธุกรรม ซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และพลังงานสะอาด และความต้องการใหม่ที่เกิดขึ้นหลังวิกฤต คือ เทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ทำงานกับมนุษย์
บทสรุป ผลลัพธ์แห่งหายนะในระดับโลกนี้จะเปลี่ยนมุมมองและวิถีชีวิตของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์จึงกลายเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างมากของคนในยุคปัจจุบัน เพราะหากยึดติดอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ก็อาจจะหล่นหายออกจากระบบไปได้อย่างง่ายดาย
ให้ EnGenius ช่วยคุณ คลิ๊กเลย https://engenius.neighborsoft.com/login
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ www.prachachart.net)