Skip to content

How to เป็น “วิศวกร” ที่ตลาดงานต้องการตัว

คนเรียนคณะวิศกรรมศาสตร์แบบเราๆ เมื่อวันหนึ่งต้องตัดสินใจเลือกสายอาชีพในการทำงาน “มันช่างหลากหลายเหลือเกิน” มีทั้ง

  • งานบริษัทเอกชน
  • งานรัฐวิสาหกิจ
  • งานวิศวกรราชการ
  • เรียนต่อ

ซึ่งตัวเลือกที่หลากหลายนี้ก็พาเราต้องมานั่งคิดทบทวนกับตัวเองเหมือนกันว่า “อนาคต” เราอยากเดินในเส้นทางไหน
บางครั้งอาจเริ่มด้วยการทำงานบริษัทเอกชน และ ค่อยโยกย้ายสายมารัฐวิสาหกิจ หรือ งานวิศวกรราชการ เพื่อความมั่นคงในสวัสดิการและครอบครัว ซึ่งต่างคนก็ ต่างเป้าหมาย ต่างปัจจัยกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหล่าวิศวกรแบบเรามีก็คือ “เราอยากวางแผนให้ได้”

การวางแผนให้เรามีคุณสมบัติสามารถ “สมัครงานได้ทุกที่” ไม่ไกลเกินคาดหวัง

เพียงแค่เมื่อเริ่มเรียนจบ เราเตรียมตัวให้พร้อมในทุกสถานการณ์ เก็บ 3 ใบนี้ให้ครบ
เพื่อเริ่มทำงานได้ทุกสายงาน !!

รูปพิชิต 3 ใบ

 1.สอบวัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษโดยทั่วไปในสนามสอบ TOEIC
คะแนนขั้นต่ำที่ควรพิชิตมาได้ในสนามนี้ ประมาณ 550 คะแนน เพื่อครอบคลุมการยื่นสมัครงานบริษัทเอกชนเบื้องต้น และ รัฐวิสาหกิจ
โดยคะแนนภาษาอังกฤษในสนาม Toeic สามารถสะท้อนศักยภาพในการสื่อสารและพร้อมทำงานในระดับสากลได้

2.สอบวัดระดับความสามารถระดับภาคีวิศวกร หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “ใบ กว.”
เป็นใบที่มีความสำคัญอย่างมากในวิศวกรปฏิการในสาขาวิศวกรรมควบคุม ได้แก่ วิศวกรโยธา, ไฟฟ้ากำลัง, ไฟฟ้าสื่อสาร, เครื่องกล, สิ่งแวดล้อม, เคมี, อุตสาหการ, เหมืองแร่
ซึ่งการสอบ กว. ในปัจจุบันนั้นง่ายเหลือเกิน เพราะ ทุกขั้นตอนนั้นเป็นการสอบแบบ ออนไลน์ ทั้งหมดและเมื่อสอบผ่านแล้ว ก็สามารถต่อยอดเพื่อสอบในระดับสามัญวิศวกร และ วุฒิวิศวกรต่อได้

3. สอบวัดระดับความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “ใบ กพ.
สำหรับการสมัครตำแหน่ง “วิศวกรข้าราชการ” คุณสมบัติสำคัญในการยื่นสมัคร คือ ใบ กพ. เพื่อให้เราสามารถมีโอกาสเข้าไปสอบในข้อสอบแต่ละกระทรวง