Skip to content

วิศวกร

[สาระวิศวกร] ‘นามบัตร’ สิ่งจำเป็นที่วิศวกรมองข้าม

เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมไทยจำนวนมากไม่มี หรือไม่นิยมพกนามบัตรคนที่คุ้นเคยกับการติดต่อธุรกิจกับฝรั่ง หรือญี่ปุ่น จะทราบว่าเขาให้ความสำคัญกับนามบัตรเป็นอย่างยิ่ง เพราะนามบัตรเป็นการแนะนำตน ตำแหน่งหน้าที่การงาน หากเป็นผู้ประกอบวิชาชีพจะแสดงสถานภาพทางวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับ เช่น ตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งดอกเตอร์ ศาสตราจารย์ รองหรือผู้ช่วยศาสตราจารย์ เป็นต้น ตำแหน่งทางวิชาชีพ ได้แก่ ตำแหน่งกรรมการหรือสมาชิกในสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างการยอมรับทางวิชาชีพหรือ Professional Recognition ที่มีความสำคัญ และจำเป็นสำหรับคนที่พบกันและอาจทำงานหรือธุรกิจร่วมกัน ซึ่งวันนี้ เราจะมาบอกเหตุผลสำคัญ ว่าทำไมวิศวกรควรมีนามบัตรกัน เหตุผล 1 : คือใบเบิกทางสู่ความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต นามบัตรจะมีข้อมูลที่ทำให้เราติดต่อกับอีกฝ่ายได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน หรือการทำงานร่วมกัน โดยในงานสัมนาที่เราไปอาจมีการพบเจอกับคนในสายงานเดียวกัน ซึ่งในอนาคตมีโอกาสที่จะได้ร่วมงานกัน หรือคาดหวังที่จะได้ร่วมงานกัน การให้นามบัตรติดต่อซึ่งกันและกันจะทำให้การสานสัมพันธ์และทำให้ความคาดหวังในอนาคตเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นอีกสเต็ปหนึ่ง เหตุผล 2 : คือ First Impression First impression หรือความประทับใจแรกพบนั่น จะดีหรือร้ายประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งการมีนามบัตรเพื่อแสดงข้อมูลส่วนตัวและช่องทางการติดต่อนั่นถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกพบในแง่บวก เพราะแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของเราต่อคู่สนทนาและความยินดีที่จะสานสัมพันธ์กันอีกครั้งในอนาคต เหตุผล 3 : การให้นามบัตรแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ การยื่นนามบัตรให้กับอีกฝ่าย… Read More »[สาระวิศวกร] ‘นามบัตร’ สิ่งจำเป็นที่วิศวกรมองข้าม

Metaverse กับวงการวิศวกร

Metaverse คืออะไร หากคุณนึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงปัญหาเหล่านี้ สรุป Metaverse คือการนำเอาคำ 2 คำมารวมกันระหว่าง Meta (เกินกว่าความเป็นจริง) กับ Universe (จักรวาล) รวมเป็น Metaverse จักรวาลที่อยู่เหนือความเป็นจริงมากๆ ซึ่งมีส่วนประกอบอยู่ 3 อย่าง คือ และสิ่งเหล่านี้มันส่งผลกับใครบ้าง แน่นอนครับคงเป็นพวกเราทุกคน หากลองคิดเล่นๆ การเรียนในโลกเสมือนจะสนุกขนาดไหน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้กระทบกับทุกคนแน่นอน แล้ว Metaverse ส่งผลกับวิศวกรอย่างไร !! หรือแม้แต่การเข้าไปอยู่ในงานก่อสร้าง ก็สามารถจำลองร่างตัวเองเข้าไปอยู่ในตัวอาคารจริงๆ ทำให้เห็นภาพรวมของการก่อสร้างโดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปหน้างานเลย เท่ากับว่าเราสามารถทำงานได้ทุกที่บนโลก ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่จริงอีกแล้ว สุดท้าย !! ถ้า Metaverse เกิดขึ้นจริงพวกคุณจะนำมาใช้ทำอะไร ลองมาแชร์กันดูครับ

สกิลที่วิศวกรควรมีในปี 2022

วิศวกรในโรงงานแบบพวกเราเมื่อได้ยินคำว่า “data scinece” ก็คงจะคิดว่ามันไกลตัวเรามากจนมาไม่ถึงหรอกแต่ถ้าพูดถึงคำว่า “ข้อมูลตัวเลขมากๆ ที่กองอยู่ในเอกเซล” พวกเราก็คงจะอ๋อ และ นึกภาพความวุ่นวายได้อย่างแน่นอน หลายครั้งที่วิศวกรหลากหลายสาขา ต้องเริ่มทำงานเกี่ยวกับข้อมูล ตัวอย่าง เช่น ซึ่งการจัดการข้อมูลในเบื้องต้นของวิศวกรที่นึกออกเป็นอย่างแรกก็คือ Excel หลังจากที่ลองจัดการข้อมูลใน Excel ก็เริ่มเห็น Pattern (รูปแบบ) ซ้ำๆที่เกิดขึ้น ก็คงดีหากวิศวกรสามารถดึงวิชาพื้นฐานวิศวกร Computer Programming มาเขียนคู่กับ Excel แต่ก็เป็นเรื่องที่ยากเพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้สอนภาษา VBA หรือภาษาโปรแกรมของ Excel ซึ่งก็ทำให้วิศวกรไม่สามารถต่อยอดจาก Excel ได้ (ถึงแม้อาจารย์จะบอกว่า Syntax ของภาษาโปรแกรมมันคล้ายๆกันก็ตาม ก็ยังคงยากอยู่ดี) สิ่งที่วิศวกรนึกออกอีกเกี่ยวกับโปรแกรมก็ คือ เพื่อนวิศวคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็จะถามเพื่อนเหล่านั้นพร้อมกับได้คำตอบมาว่า “กูก็ไม่รู้เหมือนกัน” เพราะวิศวคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้เรียนภาษา VBA และใครหละจะมาแก้โจทย์เหล่านี้ได้ ก็วิศวกรคนนั้นหละครับ ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม จากคำพูดที่ว่า “ไม่มีอะไร ที่วิศวกรไทย ทำไม่ได้” สิ่งที่วิศวกรควรศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ บางคนก็ทำจน Optimize… Read More »สกิลที่วิศวกรควรมีในปี 2022

ใบ กว. คำที่วิศวกรต้องรู้จัก!

ทำความรู้จัก ใบ กว. (ใบอนุญาตประกอบวิศวกรรมควบคุม) เพื่อประโยชน์ในการทำอาชีพวิศวกร ” อาชีพวิศวกร คือ อาชีพของนักแก้ปัญหา “ นักแก้ปัญหาจำเป็นต้องรู้ถึงขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่ถูกคุ้มครองโดยกฎหมาย โดยสภาวิศวกรได้กำหนดค่าใบประกอบวิชาชีพวิศวกรตามระดับขั้น ดังนี้ โดยสภาวิศวกรกำหนดเป็นแนวทางเบื้องต้นโดยไม่ได้บังคับเป็นข้อกำหนดหรือกฎหมายแต่อย่างใด ขึ้นอยู่กับแนวทางแต่ละบริษัท มากไปกว่าการเป็นวิศวกรที่ถูกต้องการตามกฎหมายแล้วนั้น การเป็นวิศวกรในชีวิตจริงเราจำเป็นต้องมีความรู้ในการประกอบอาชีพให้ครบครันเพื่อให้เราไม่เสียเปรียบและเตรียมความพร้อมให้กับตนเองในการออกสู่ตลาดงานได้อย่างแท้จริง เหตุผลจำเป็นที่เราจำเป็นต้องทราบองค์ความรู้เหล่านี้ก็เพื่อให้เราไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำอาชีพวิศวกร ทั้งในแง่กฎหมาย และ จรรยาบรรณวิชาชีพ 2 องค์ความรู้นี้จะช่วยทำให้เราเป็นวิศวกรที่ดีและถูกกฎหมายได้ในตลาดงานจริง มากไปกว่านั้น การทำงานวิศวกรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงานย่อมเป็นผลดีกับตนเองและผู้ปฏิบัติงานรอบข้างด้วย โดยเราสามารถเข้าถึงเนื้อหาความรู้นี้ได้อย่างครบถ้วนอยู่แล้ว เพราะก่อนที่เราจะได้รับ ใบ กว. สภาวิศวกรจะทำหน้าที่อบรมเนื้อหาจำเป็นเหล่านี้ให้กับเราอยู้แล้ว ดังนั้นเรามั่นใจได้เลยว่า ” หากเราเป็นวิศวกรที่ได้รับ ใบ กว. = เราเป็นวิศวกรที่พร้อมเป็นนักแก้ปัญหาที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีองค์ความรู้ในการเข้าสู่อาชีพวิศวกรได้อย่างมั่นใจ “ ให้เราช่วยคุณ! พิชิตใบกว. ไปกับ EnGenius แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อสอบให้วิศวกรได้ฝึกฝน สู่การเป็นวิศวกรมืออาชีพhttps://engenius.neighborsoft.com/login

รวบรวม Community สำหรับวิศวกร

หากคุณเป็นหนึ่งในวิศวกรที่ต้องการพัฒนาตนเอง หรือมีความสนใจเกี่ยวกับเทรนวิศวกรในอนาคต วันนี้เราได้รวบรวม Community สำหรับวิศวกรมาให้แล้ว สุดท้าย หน้าที่ของวิศวกร คือ นักแก้ปัญหา ดังนั้น ยิ่งมีเพจที่แบ่งปันความรู้ หรือ เครื่องมือในการแก้ปัญหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้วิศวกรไทยได้อัปเดทความรู้และความสามารถมากขึ้นไปเท่านั้น จึงอยากเชิญชวนทุกคนลองเริ่มแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ที่ตัวเองมีมาลงพื้นที่ ใน Social เพื่อพัฒนาศักภาพของวิศวกรไทยให้ไปได้ไกลและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

เคล็ดลับ! เป็นวิศวกรยังไงให้มีรายได้เกิน‘แสนบาท’

ใครบางคนบอกไว้ว่า ‘ทุกอาชีพมีจุดสูงสุด’ และจุดสูงสุดของทุกอาชีพจะทำให้เรารวย ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรอยู่ก็ตาม จงขึ้นสู่จุดสูงสุด -นิรนาม- หากจะถามว่าปัจจุบัน อาชีพไหนที่เด็กๆ และคนทั่วไปรู้จักและคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ก็คงหลีกหนี ‘วิศวกร’ ไม่พ้นเป็นอันดับต้น ๆ แน่นอน เพราะถือเป็นศาสตร์อีกหนึ่งแขนงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนไทย จนถึงขั้นแทบทุกมหาวิทยาลัยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้ได้เลือกเรียนกันเลยทีเดียว อาชีพที่ได้รับความนิยมสูง ก็ตามมาด้วยการแข่งขันที่สูงตามไปด้วย วิศวกรเดินขวักไขว่มากมายในตลาดงาน แต่มีวิศวกรไม่มากที่มีเงินเดือน ‘เกินแสนบาท’ ซึ่งพอถึงตรงนี้หลายคนก็คงจะจินตนาการถึงวิศวกรผู้รอบรู้ ฉลาดเป็นกรดอะไรทำนองนั้นใช่หรือไม่ วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับและที่มาของการเป็นวิศวกรเงินเดือน ‘เกินแสนบาท’ กัน 1.รู้ให้ลึก จนถึงขั้น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เริ่มต้นด้วย fact ที่เราต่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะรายได้มักแปรผันตรงกับความรู้ที่เรามีเสมอ ไม่ว่าสายงานไหน ถ้าเราสามารถพัฒนาความรู้และความสามารถในการประยุกต์ใช้และถ่ายทอดได้ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญนั้นรายได้ย่อมดีกว่าคนที่รู้แค่เรื่องทั่วไปอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำงานเป็นวิศวกรฝ่ายผลิตต้องมีความเชี่ยวชาญและรอบรู้ในเรื่องการลดเวลาการผลิต เพิ่มยอดผลิตและลดของเสียให้มากที่สุด เป็นต้น การที่เราทำได้แบบนี้ เราจะกลายเป็นที่ต้องการทั้งในบริษัทและนอกบริษัท ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่จะทำให้เราสามารถเรียกเงินเดือนสูงขึ้นได้นั่นเอง 2.เพิ่มมูลค่าให้กับตนเองมากยิ่งขึ้น นอกจากความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่ตนทำอยู่ การจะเติบโตเป็นวิศวกรเงินเดือนเกินแสน ต้องอาศัยสกิลอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สกิลด้านภาษา, สกิลด้านการบริหารจัดการ เพราะหากคุณเป็นวิศวกรเงินเดือนเกินแสนบาท คงปฏิเสธไม่ได้ที่คุณจะกลายเป็น 1 ในผู้ริเริ่มและมีความสำคัญกับโครงการต่าง… Read More »เคล็ดลับ! เป็นวิศวกรยังไงให้มีรายได้เกิน‘แสนบาท’

อาชีพวิศวกร หลังยุคโควิด-19

อาชีพวิศวกร หลังยุคโควิด-19 การระบาดของโควิด-19 เป็นปัญหาด้านสุขภาพครั้งใหญ่ของมนุษยชาติ และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิตและการทำงานหลากหลายอาชีพ หนึ่งในนั่นคืออาชีพวิศวกร โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมวิศวกรรมและการก่อสร้างจะมีทั้งในระยะสั้นและยาว จนถึงขั้นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปฏิบัติงานทุก Process เลยทีเดียว โดยสิ่งที่คาดว่าจะกลายมาเป็นความปกติใหม่ของสายอาชีพวิศวกรและสายงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1. ในช่วงวิกฤต ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับการปฏิบัติงานที่บ้านและการประชุมออนไลน์ หลายบริษัทเริ่มคิดนอกกรอบได้ว่า การที่พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้จะเป็นความปกติใหม่อย่างหนึ่ง เป็นการลดค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน และลดการเสียเวลาในการเดินทางของพนักงานด้วย จึงไม่เน้นการวัดผลงานด้วยเวลาที่ใช้ในการทำงาน แต่วัดด้วยปริมาณผลงาน หรือความก้าวหน้าของโครงการ 2. ที่ผ่านมาบริษัทด้านวิศวกรรมมักให้ความสำคัญแก่ประสิทธิผลการผลิตเป็นพิเศษ แต่ในอนาคตประสิทธิภาพของเงินทุนจะเข้ามามีความสำคัญแทน บริษัทที่ใช้เงินสดหมุนเวียนอย่างชาญฉลาด มีต้นทุนคงที่น้อยกว่าและมีวงจรการแปลงเงินสดได้ในระยะเวลาสั้น ๆ จึงจะสามารถอยู่ยั่งยืน และแขนงวิศวกรรมที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเงินและบัญชีอย่าง ‘วิศวกรรมการเงิน’ ก็จะกลายเป็นวิศวกรที่โดดเด่น 3. ผลิตภัณฑ์วิศวกรรมทุกอย่างจะต้องสามารถแปลงให้เป็นดิจิทัลได้ เพื่อสำเนาได้และส่งให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องได้ทางออนไลน์ สิ่งนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดว่า “รับงานที่ไหนก็ได้ ผลิตงานที่ไหนก็ได้ และส่งงานที่ไหนก็ได้” ระบบ Blockchain อาจมีอิทธิพลมากขึ้น 4. นวัตกรรมทางเทคโนโลยียังมีความสำคัญในโลกแห่งความปกติใหม่ โดยเฉพาะงานด้านวิศวกรรมพันธุกรรม ซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ และพลังงานสะอาด และความต้องการใหม่ที่เกิดขึ้นหลังวิกฤต คือ เทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ทำงานกับมนุษย์ บทสรุป ผลลัพธ์แห่งหายนะในระดับโลกนี้จะเปลี่ยนมุมมองและวิถีชีวิตของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์จึงกลายเป็นความสามารถที่สำคัญอย่างมากของคนในยุคปัจจุบัน เพราะหากยึดติดอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ก็อาจจะหล่นหายออกจากระบบไปได้อย่างง่ายดาย การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกที่ แม้แต่การเรียนรู้และการสอบวัดผลก็เปลี่ยนรูปแบบไป เช่นเดียวกับการสอบ ก.ว ที่เปลี่ยนรูปแบบมาสอบแบบออนไลน์ และ EnGenius แพลตฟอร์มรวบรวมข้อสอบและจำลองการสอบจริงใบ ก.ว. แบบออนไลน์มาไว้ในที่เดียว ตัวช่วยที่ดีที่ช่วยให้คุณเตรียมพร้อมในการสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ให้ EnGenius ช่วยคุณ คลิ๊กเลย https://engenius.neighborsoft.com/login  (ขอขอบคุณข้อมูลจาก… Read More »อาชีพวิศวกร หลังยุคโควิด-19

How to ขอใบ กว พิเศษ สำหรับคนมีประสบการณ์

ในโลกแห่งการทำงานเราพิสูจน์กันด้วยฝีมือของประสบการณ์ ไม่สามารถประเมินกันที่วุฒิการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้นสายงานของวิศวกรหรือนายช่างทั้งหลาย เรามักจะมีคำเรียกที่สะท้อนถึงความเก๋าในอาชีพกัน ว่า พี่ระดับจูเนียร์ พี่ระดับซีเนียร์ ความเก๋าที่ว่าไม่ใช่ได้มากจากระยะเวลาในการทำงานที่นานเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความรับผิดชอบในงานที่ได้รับ และความรู้ความชำนาญในด้านนั้น ๆ ดังนั้นสภาวิศวกรเองจึงได้ขยายโอกาสสำหรับบุคคลที่ไม่ได้จบในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรควบคุม แต่มีประสบการณ์ทำงานจริงในสายงานดังกล่าวให้สามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ โดยขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต มีดังนี้ ใครผ่าน 4 ด่านนี้มาได้ !! เท่ากับ คุณได้คว้าใบ กว. พิเศษ มาครอบครองได้สำเร็จ ส่วนค่าใช้จ่ายในการแต่ละขั้นตอนเราสรุปให้เป็นแผนภาพง่ายๆ ดังนี้

[สาระวิศวกร] 5 Soft Skills ที่วิศวกรยุคนี้ควรมี!!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้หรือบทเรียนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายแทบจะทุกที่ทุกเวลาอย่างยุคนี้ ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาความรู้ และเรียนรู้ทำความเข้าใจบทเรียนหรือเนื้อหายาก ๆ ได้เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้น แต่ทว่าในการที่ผู้คนเต็มไปด้วยทักษะความรู้ด้านวิชาการ วิชาชีพ หรือที่เรียกกันว่า Hard skills นั่น เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการทำงานเท่านั้น เพราะในการทำงานจริง จำเป็นต้องมีทักษะอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความก้าวหน้า โดยทักษะเหล่านั้น เรียกรวม ๆ ว่า  ‘Soft Skills’ 1. ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา (Problem solving) เพราะเนื้องานหลักของวิศวกร แท้จริงแล้วคือการคิด คำนวณและออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ดังนั้นทักษะด้านนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมาก แม้บทเรียนของ Hard skills จะมีการสอนรูปแบบวิธีการแก้ปัญหามาแล้ว แต่นั้นเป็นเพียงความรู้พื้นฐานที่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่การจะเติบโตและเจริญก้าวหน้าในการทำงาน จำเป็นต้องอาศัยทักษะ ‘การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ’ ที่ไม่เพียงจะแก้ไขปัญหา เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นความปกติ แต่ต้องเป็นการแก้ไขปัญหา เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม 2. ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ขึ้นชื่อว่าการทำงานนั่น แม้แต่ศิลปินผู้รักสันโดษก็ยังต้องมีการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อรังสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมา โดยในฝั่งของวิศวกร การทำงานเป็นทีมนั่นแทบจะเป็นบรรยากาศการทำงานพื้นฐานเลยทีเดียว เพราะการแก้ปัญหาที่ดีและมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องใช้หลายมุมมอง หลายความคิดเห็นเข้ามาช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน แต่หากเราทำงานเป็นทีมไม่ได้ ก็อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตการทำงานเลยทีเดียว อย่าลืมว่าทุกคนไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง หรืองานบ้างงานอาจไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและผู้คนที่หลากหลายจะช่วยเติมเต็มช่องโหว่ที่เราไม่สามารถจัดการได้ และยังทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและลดภาระความเหนื่อยในการทำงานของเราได้อีกด้วย 3.… Read More »[สาระวิศวกร] 5 Soft Skills ที่วิศวกรยุคนี้ควรมี!!