Skip to content

สอบกว

รวบรวม Community สำหรับวิศวกร

หากคุณเป็นหนึ่งในวิศวกรที่ต้องการพัฒนาตนเอง หรือมีความสนใจเกี่ยวกับเทรนวิศวกรในอนาคต วันนี้เราได้รวบรวม Community สำหรับวิศวกรมาให้แล้ว สุดท้าย หน้าที่ของวิศวกร คือ นักแก้ปัญหา ดังนั้น ยิ่งมีเพจที่แบ่งปันความรู้ หรือ เครื่องมือในการแก้ปัญหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้วิศวกรไทยได้อัปเดทความรู้และความสามารถมากขึ้นไปเท่านั้น จึงอยากเชิญชวนทุกคนลองเริ่มแชร์ความรู้ ประสบการณ์ ที่ตัวเองมีมาลงพื้นที่ ใน Social เพื่อพัฒนาศักภาพของวิศวกรไทยให้ไปได้ไกลและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

เคล็ดลับ! เป็นวิศวกรยังไงให้มีรายได้เกิน‘แสนบาท’

ใครบางคนบอกไว้ว่า ‘ทุกอาชีพมีจุดสูงสุด’ และจุดสูงสุดของทุกอาชีพจะทำให้เรารวย ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไรอยู่ก็ตาม จงขึ้นสู่จุดสูงสุด -นิรนาม- หากจะถามว่าปัจจุบัน อาชีพไหนที่เด็กๆ และคนทั่วไปรู้จักและคุ้นหูกันเป็นอย่างดี ก็คงหลีกหนี ‘วิศวกร’ ไม่พ้นเป็นอันดับต้น ๆ แน่นอน เพราะถือเป็นศาสตร์อีกหนึ่งแขนงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับคนไทย จนถึงขั้นแทบทุกมหาวิทยาลัยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้ได้เลือกเรียนกันเลยทีเดียว อาชีพที่ได้รับความนิยมสูง ก็ตามมาด้วยการแข่งขันที่สูงตามไปด้วย วิศวกรเดินขวักไขว่มากมายในตลาดงาน แต่มีวิศวกรไม่มากที่มีเงินเดือน ‘เกินแสนบาท’ ซึ่งพอถึงตรงนี้หลายคนก็คงจะจินตนาการถึงวิศวกรผู้รอบรู้ ฉลาดเป็นกรดอะไรทำนองนั้นใช่หรือไม่ วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับและที่มาของการเป็นวิศวกรเงินเดือน ‘เกินแสนบาท’ กัน 1.รู้ให้ลึก จนถึงขั้น ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ เริ่มต้นด้วย fact ที่เราต่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะรายได้มักแปรผันตรงกับความรู้ที่เรามีเสมอ ไม่ว่าสายงานไหน ถ้าเราสามารถพัฒนาความรู้และความสามารถในการประยุกต์ใช้และถ่ายทอดได้ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญนั้นรายได้ย่อมดีกว่าคนที่รู้แค่เรื่องทั่วไปอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น หากเราทำงานเป็นวิศวกรฝ่ายผลิตต้องมีความเชี่ยวชาญและรอบรู้ในเรื่องการลดเวลาการผลิต เพิ่มยอดผลิตและลดของเสียให้มากที่สุด เป็นต้น การที่เราทำได้แบบนี้ เราจะกลายเป็นที่ต้องการทั้งในบริษัทและนอกบริษัท ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่จะทำให้เราสามารถเรียกเงินเดือนสูงขึ้นได้นั่นเอง 2.เพิ่มมูลค่าให้กับตนเองมากยิ่งขึ้น นอกจากความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่ตนทำอยู่ การจะเติบโตเป็นวิศวกรเงินเดือนเกินแสน ต้องอาศัยสกิลอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สกิลด้านภาษา, สกิลด้านการบริหารจัดการ เพราะหากคุณเป็นวิศวกรเงินเดือนเกินแสนบาท คงปฏิเสธไม่ได้ที่คุณจะกลายเป็น 1 ในผู้ริเริ่มและมีความสำคัญกับโครงการต่าง… Read More »เคล็ดลับ! เป็นวิศวกรยังไงให้มีรายได้เกิน‘แสนบาท’

How to ขอใบ กว พิเศษ สำหรับคนมีประสบการณ์

ในโลกแห่งการทำงานเราพิสูจน์กันด้วยฝีมือของประสบการณ์ ไม่สามารถประเมินกันที่วุฒิการศึกษาอย่างเดียวเท่านั้นสายงานของวิศวกรหรือนายช่างทั้งหลาย เรามักจะมีคำเรียกที่สะท้อนถึงความเก๋าในอาชีพกัน ว่า พี่ระดับจูเนียร์ พี่ระดับซีเนียร์ ความเก๋าที่ว่าไม่ใช่ได้มากจากระยะเวลาในการทำงานที่นานเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงความรับผิดชอบในงานที่ได้รับ และความรู้ความชำนาญในด้านนั้น ๆ ดังนั้นสภาวิศวกรเองจึงได้ขยายโอกาสสำหรับบุคคลที่ไม่ได้จบในสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรควบคุม แต่มีประสบการณ์ทำงานจริงในสายงานดังกล่าวให้สามารถขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ โดยขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต มีดังนี้ ใครผ่าน 4 ด่านนี้มาได้ !! เท่ากับ คุณได้คว้าใบ กว. พิเศษ มาครอบครองได้สำเร็จ ส่วนค่าใช้จ่ายในการแต่ละขั้นตอนเราสรุปให้เป็นแผนภาพง่ายๆ ดังนี้

[สาระวิศวกร] 5 Soft Skills ที่วิศวกรยุคนี้ควรมี!!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้หรือบทเรียนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายแทบจะทุกที่ทุกเวลาอย่างยุคนี้ ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาความรู้ และเรียนรู้ทำความเข้าใจบทเรียนหรือเนื้อหายาก ๆ ได้เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้น แต่ทว่าในการที่ผู้คนเต็มไปด้วยทักษะความรู้ด้านวิชาการ วิชาชีพ หรือที่เรียกกันว่า Hard skills นั่น เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการทำงานเท่านั้น เพราะในการทำงานจริง จำเป็นต้องมีทักษะอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความก้าวหน้า โดยทักษะเหล่านั้น เรียกรวม ๆ ว่า  ‘Soft Skills’ 1. ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา (Problem solving) เพราะเนื้องานหลักของวิศวกร แท้จริงแล้วคือการคิด คำนวณและออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ดังนั้นทักษะด้านนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมาก แม้บทเรียนของ Hard skills จะมีการสอนรูปแบบวิธีการแก้ปัญหามาแล้ว แต่นั้นเป็นเพียงความรู้พื้นฐานที่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่การจะเติบโตและเจริญก้าวหน้าในการทำงาน จำเป็นต้องอาศัยทักษะ ‘การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ’ ที่ไม่เพียงจะแก้ไขปัญหา เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นความปกติ แต่ต้องเป็นการแก้ไขปัญหา เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม 2. ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ขึ้นชื่อว่าการทำงานนั่น แม้แต่ศิลปินผู้รักสันโดษก็ยังต้องมีการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อรังสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมา โดยในฝั่งของวิศวกร การทำงานเป็นทีมนั่นแทบจะเป็นบรรยากาศการทำงานพื้นฐานเลยทีเดียว เพราะการแก้ปัญหาที่ดีและมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องใช้หลายมุมมอง หลายความคิดเห็นเข้ามาช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน แต่หากเราทำงานเป็นทีมไม่ได้ ก็อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตการทำงานเลยทีเดียว อย่าลืมว่าทุกคนไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง หรืองานบ้างงานอาจไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและผู้คนที่หลากหลายจะช่วยเติมเต็มช่องโหว่ที่เราไม่สามารถจัดการได้ และยังทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและลดภาระความเหนื่อยในการทำงานของเราได้อีกด้วย 3.… Read More »[สาระวิศวกร] 5 Soft Skills ที่วิศวกรยุคนี้ควรมี!!

[สาระวิศวกร] หุ้นใกล้ตัววิศวกร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปี 2021 นี้ กระแสการลงทุน ใช้เงินทำงาน หรือ การมี Passive income ต่าง ๆ มาแรงมาก ๆ ซึ่งจากการวิเคราะห์ของผู้เขียนก็อาจจะเกิดมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและเทคโนโลยีที่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ และติดตามข่าวสารทั่วโลกกันได้อย่างง่ายดาย หล่อหลอมและกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ ๆ เริ่มสนใจการลงทุนกันมากขึ้น  แต่เมื่อพูดถึงการลงทุน อะไรที่เป็นตัวเลข การคาดการณ์เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อาจฟังดูยากไปซักหน่อยสำหรับใครบางคน แถมการลงทุนก็มีหลากหลายรูปแบบเต็มไปหมด อาทิ การซื้อกองทุน พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้น ฯลฯ หรือในปัจจุบันมีเทรนด์การลงทุนที่มาแรงมาก ๆ อย่าง ‘Crypto currency’ หรือสกุลเงินดิจิทัล แต่วันนี้ เราจะพูดถึงการลงทุนสุดคลาสสิคที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้จัก นั่นก็คือ การลงทุนใน ‘หุ้น’ นั่นเอง หุ้นที่จะมาเล่าสู่ฟังวันนี้เป็นหุ้นใกล้ตัวของเหล่าวิศวกรอย่าง ‘หุ้นก่อสร้าง’ ซึ่งก็คือหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ  ซึ่งหุ้นข้างต้น ถือเป็น ‘หุ้นพื้นฐานดี’ ในสายตาของนักลงทุน เนื่องจากเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน มีชื่อเสียง และมีความน่าเชื่อถือ และในปัจจุบันก็อยู่ในระหว่างการพัฒนาเมกะโปรเจ็คอีกมากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งหุ้นเหล่านี้ก็เป็นอีกกลุ่มหุ้นที่ถือเป็นทางเลือกดี ๆ ที่น่าลงทุนสำหรับวิศวกร… Read More »[สาระวิศวกร] หุ้นใกล้ตัววิศวกร

ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร ราคาเท่าไหร่ อัพเดทล่าสุด 2021

แพงแค่ไหนก็ต้องยอมจ่ายเพื่อสิ่งนี้ !! วิศวกรควบคุมทั้งหลายปฎิเสธไม่ได้กับความจำเป็นต้องสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกร (ใบ กว.) พวกเค้าจำเป็นต้องใช้ในการสมัครงานเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจในตำแน่งวิศวกรควบคุม และ การสมัครงานในบริษัทเอกชนในสายงานออกแบบ ก่อสร้าง เพื่อเป็นเครื่องมือการันตีความเป็นมืออาชีพ และ เพื่อแสดงความรับผิดชอบใบการสวมบทบาทวิศวกรควบคุมที่จำเป็นต้องดูแล ก่อสร้าง ซ่อมแซมโครงสร้าง ระบบ หรือ เครื่องมือต่างๆ 4 ขั้นตอน กับ การได้ใบ กว. โดยการสอบใบ กว.ในปัจจุบันสามารถดำเนินการทุกขั้นตอนผ่านระบบออนไลน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ขั้นตอนการสมัคร การสอบ หรือการอบรมความพร้อม จึงทำให้ตอนนี้มีวิศวกรจำนวนมากที่เข้ามาสอบแก้ตัวกันในรอบออนไลน์ โดยขั้นตอนการจะได้ใบ กว. มาครอบครองนั้น มี 4 ขั้นตอนหลักดังนี้ คุ้มไหม ?? เสียเงินขั้นต่ำ 5,500 บาท เพื่อแลกกับใบ กว. การประกอบอาชีพวิศวกร คือ การสวมหมวกนักแก้ไขปัญหาเพื่อสังคม โดยการเข้ามาทำหน้าที่รับผิดชอบการก่อสร้าง การออกแบบอาคาร หรือแม้แต่การดูแลโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทย ดังนั้น หากการที่วิศวกรมีใบ กว. ไว้ครอบครองก็คงเปรียบเสมือนการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ว่าจะทำหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาตามจรรยาบรรณวิศวกรได้บัญญัติไว้ตามประกาศของสภาวิศวกร… Read More »ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร ราคาเท่าไหร่ อัพเดทล่าสุด 2021