Skip to content

สอบ ก.ว.

เคล็ดลับวิศวกรหญิง โตในสายงานได้ดีไม่แพ้ใคร!

เคล็ดลับวิศวกรหญิง โตในสายงานได้ดีไม่แพ้ใคร!? ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเราพูดคุยถึงสายงานของวิศวกรนั้นมักจะได้รับความสนใจในเพศชายมากกว่า สังเกตได้ตั้งแต่จำนวนผู้เรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีจำนวนนิสิต นักศึกษาชายมากกว่าหญิงอยู่บ่อยครั้ง โดยเหตุผลอาจมาจากลักษณะของเนื้องานและภาพจำของสังคมที่มองว่าเหล่าวิศวกรต้องใช้พละกำลัง ไหวพริบ ความลุย ความถึกอย่างมากในการทำงาน  งานวิศวกรจึงอาจดูเป็นงานที่เหมาะกับเพศชายมากกว่า แต่แท้จริงแล้วความเชื่อนั้นก็ใช่ว่าจะถูกหรือผิดไปซะทีเดียว เพราะวิศวกรรมนั้นยังมีอีกหลายๆตำแหน่งหน้าที่ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้แรงกายมากในการทำงาน แต่เน้นใช้ความรู้ ทฤษฎี หรือตรรกะศาสตร์ในการทำงานเป็นหลัก เช่น วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรเคมี เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจากฝั่งของวิศวกรโยธา เครื่องกล หรือวิศวกรที่มีหน้างานส่วนใหญ่อยู่กลางแจ้งหรือคลุกคลีอยู่กับเครื่องจักรเป็นหลัก ซึ่งในฝั่งนั่นเพศชายก็อาจจะได้เปรียบในการทำงานมากกว่าผู้หญิง เนื่องด้วยขอบเขตที่จำกัดในหน้าที่การงานของวิศวกรหญิง การเลือกปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียม และกำแพงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมซึ่งส่งผลต่อโอกาสความก้าวหน้าของวิศวกรหญิง จึงส่งผลให้วิศวกรชายมีโอกาสได้รับการโปรโมต หรือเติบโตในสายงานได้ดีมากกว่าจนทำให้เหล่าวิศวกรหญิงหลายคน เมื่อเรียนจบแล้วก็เลือกเรียนต่อและเบนเข็มไปสายงานอื่น แล้วถ้าหากเพศหญิงอยากเติบโตในสายงานวิศวกรได้บ้างล่ะ? จะทำอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ มาบอก เลือกสายงานที่เหมาะกับตนเองและคิดว่าสามารถแสดงฝีมือได้อย่างเต็มที่ การเริ่มต้นที่ดี ควรเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เลือกทางเดินที่ดี วิศวกรหญิงบางคนอาจรู้ว่าตนมีความเก่งหรือเชี่ยวชาญมาก แต่ไม่กล้าเลือกสายหรือตำแหน่งงานนั้น เพราะสภาพแวดล้อมการทำงานกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ แต่หากลองวิเคราะห์ดูให้ถี่ถ้วน แม้จะเป็นงานสายก่อสร้างอย่างโยธา ก็ยังมีพื้นที่อีกมากมายให้วิศวกรหญิงได้แสดงฝีมือ เช่น งานออกแบบ งานบริหารควบคุมก่อสร้าง หรืองานเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น หรือหากวิศวกรโยธาหญิงคนไหนมี Passion กับงานกลางแจ้งจริง ลองลุยไปให้สุดซักทีก็ไม่เสียหาย เพราะ ‘Action speak louder than word’ อยู่แล้ว บู๊ได้ไม่เท่าก็ไปสายบุ๋น… Read More »เคล็ดลับวิศวกรหญิง โตในสายงานได้ดีไม่แพ้ใคร!

[สาระวิศวกร] 5 Soft Skills ที่วิศวกรยุคนี้ควรมี!!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้หรือบทเรียนต่าง ๆ สามารถเข้าถึงได้ง่ายแทบจะทุกที่ทุกเวลาอย่างยุคนี้ ทำให้ผู้คนสามารถค้นหาความรู้ และเรียนรู้ทำความเข้าใจบทเรียนหรือเนื้อหายาก ๆ ได้เข้าใจง่ายและรวดเร็วขึ้น แต่ทว่าในการที่ผู้คนเต็มไปด้วยทักษะความรู้ด้านวิชาการ วิชาชีพ หรือที่เรียกกันว่า Hard skills นั่น เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการทำงานเท่านั้น เพราะในการทำงานจริง จำเป็นต้องมีทักษะอย่างอื่นเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความก้าวหน้า โดยทักษะเหล่านั้น เรียกรวม ๆ ว่า  ‘Soft Skills’ 1. ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา (Problem solving) เพราะเนื้องานหลักของวิศวกร แท้จริงแล้วคือการคิด คำนวณและออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ดังนั้นทักษะด้านนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมาก แม้บทเรียนของ Hard skills จะมีการสอนรูปแบบวิธีการแก้ปัญหามาแล้ว แต่นั้นเป็นเพียงความรู้พื้นฐานที่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่การจะเติบโตและเจริญก้าวหน้าในการทำงาน จำเป็นต้องอาศัยทักษะ ‘การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ’ ที่ไม่เพียงจะแก้ไขปัญหา เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นความปกติ แต่ต้องเป็นการแก้ไขปัญหา เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม 2. ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ขึ้นชื่อว่าการทำงานนั่น แม้แต่ศิลปินผู้รักสันโดษก็ยังต้องมีการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อรังสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมา โดยในฝั่งของวิศวกร การทำงานเป็นทีมนั่นแทบจะเป็นบรรยากาศการทำงานพื้นฐานเลยทีเดียว เพราะการแก้ปัญหาที่ดีและมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องใช้หลายมุมมอง หลายความคิดเห็นเข้ามาช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน แต่หากเราทำงานเป็นทีมไม่ได้ ก็อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตการทำงานเลยทีเดียว อย่าลืมว่าทุกคนไม่ได้รู้ไปทุกเรื่อง หรืองานบ้างงานอาจไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและผู้คนที่หลากหลายจะช่วยเติมเต็มช่องโหว่ที่เราไม่สามารถจัดการได้ และยังทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและลดภาระความเหนื่อยในการทำงานของเราได้อีกด้วย 3.… Read More »[สาระวิศวกร] 5 Soft Skills ที่วิศวกรยุคนี้ควรมี!!